วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โฆษณา Nescafe


ภาษามลายูที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

กล่าวทักทาย













สวัสดีตอนเช้า - สลามัตปากี
สวัสดีตอนบ่าย - สลามัตปือตัง
สวัสดีตอนกลางคืน/ราตรีสวัสดิ์ - สลามัตมาลัม
ขอโทษ - มาอัฟ
ขอบคุณ - ตรีมอกาแซะห์
เดินทางโดยสวัสดิภาพ - ซลามัต+ยาแล
พบกัน - ซลามัต+ยูเปาะ
เช่นกัน - ซลามัต+สามอสามอ


ศัพท์ทั่วไป















สวย - ยาเงาะ
น่ารัก - จอแม
น่ารักจัง - นาระยอ
คิดถึง - อีเง๊ะ
รักเธอ - กาแซะห์มู 
ฉันรักเธอ - ซายอกาเซะห์แดมอ
ฉันคิดถึงเธอทั้งวันทั้งคืน - ซายอ อีงะ แดมอ ซีแย มาแล
หิวข้าว - ลาปานาซิ
หิวน้ำ - ลาปาอาย
มี - อาดอ
ไม่มี - ตะเด๊าะ
แม่และพ่อ - อีบู ดัน บาเปาะ
เพื่อน - กาวัน
เงิน/เบี้ย - ดูวิ

คำถามทั่วไป

















ชื่ออะไร - นามออาปอ
มาจากไหน - มารีมานอ
กินข้าวหรือยัง - มาแกนาซิลากี
เรากินแล้ว - กีตอมากันเดาะห์
เรียนวิชาอะไร - งายี มาดะ กะปอ

จะไปใหน - เนาะกีมานอ
มีแฟนหรือยัง - อาดอบูเดาะลากี
ขอพูดกับ - เนาะกาเจะดืองา




วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเมืองการปกครองของมาเลเซีย

ระบบการปกครอง

          มาเลเซียปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ และรัฐบาลของแต่ละรัฐ โดยรัฐบาลกลางตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ส่วนรัฐบาลแห่งรัฐตั้งอยู่ในแต่ละรัฐ รวมทั้งสิ้น ๑๓ รัฐ โดยมีประมุขของรัฐเป็นสุลต่านหรือผู้ว่าการรัฐดังนี้
          รัฐที่มีสุลต่านเป็นประมุข จำนวน ๙ รัฐ ได้แก่ เปรัค ปาหัง เซลังข-งอร์ เปอร์ลิส เคดาห์ 
เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานู
          รัฐที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นประมุข จำนวน ๔ รัฐ ได้แก่ ปีนัง มะละกา ซาราวัค และ ซาบาห์          
        นอกจากนี้ยังมีเขตสหพันธรัฐ (Federal Territory) อีก ๒ เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ และเกาะลาบวน (อยู่ทางมาเลเซียตะวันออกใกล้กับ บรูไน ดารุสซาลาม)

สถาบันกษัตริย์

          ประมุขของมาเลเซียภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ เรียกว่า สมเด็จพระราชาธิบดี” หรือ “Yang Di-Pertuan Agong” หรือทั่วไปเรียกว่า อากง” สมเด็จพระราชาธิบดีจะได้รับเลือกจากที่ประชุมของสุลต่านของรัฐทั้ง ๙ รัฐ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดำรงตำแหน่งคราวละ ๕ ปี เมื่อครบวาระก็จะมีการเลือกใหม่ โดยที่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์เดิมไม่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งในครั้งต่อไป นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้เลือกตั้งรองประมุข ซึ่งเรียกว่า “Timbalay Yangdi Pertuan Agong” ขึ้นดำรงตำแหน่งคราวละ ๕ ปี เช่นกัน รัฐที่สุลต่านได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี จะมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ (Regent) ขึ้นมาทำหน้าที่ในฐานะสุลต่านแทน 
          เว้นแต่ความเป็นประมุขในทางศาสนาอิสลามในรัฐเท่านั้นที่สมเด็จพระราชาธิบดีจะดำรงสถานภาพไว้เช่นเดิม สำหรับสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันนับเป็นองค์ที่ ๑๑ เป็นสุลต่านของรัฐเซลังงอร์ ชื่อ Tengru Salahuddin Abdul Aziz Shah เข้ารับหน้าที่เมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒และในปี ๒๕๔๗   สุลต่าน ตวนกู อิสมาอิล เปตรา แห่งรัฐกลันตัน จะขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๑๒ ต่อไป


โครงสร้างการเมืองการปกครอง

          ระบบรัฐบาลของมาเลเซียมีทั้งรัฐบาลกลางหรือสหพันธ์  (Federal  Government)  และรัฐบาลแห่งรัฐ (State Government) แต่ละรัฐมีสุลต่านปกครอง และสุลต่านร่วมกันเลือกสมเด็จพระราชาธิบดี หรือ ยังดี เปอร์ตวน อากง (Yang di-pertuan Agong) เป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ โดยมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างสุลต่านทั้ง รัฐ เพื่อเป็นประมุของค์ละ ปี  ปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียคือ  Sultan Mizan Zainal Abidin ibni Al-Marhum จากรัฐตรังกานู (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 13 ธันวาคม 2549)          การปกครองเป็นแบบรัฐสภา (Parliament System) ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) ที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภา (Senate) ที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร


โครงสร้างการปกครองของมาเลเซียแบ่งเป็น ฝ่าย ได้แก่

1.ฝ่ายนิติบัญญัติ
          ประกอบด้วย สภาคือ วุฒิสภา หรือสภาสูง (Senate หรือ Dewan Negara) จำนวน 70 ที่นั่ง มาจาก ส่วนคือ ส่วนแรก มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี จำนวน44 ที่นั่ง และส่วนที่สอง อีก 26 ที่นั่ง มาจากการเลือกโดยสภานิติบัญญัติของทั้ง 13 รัฐ (State Legislatures) จำนวน รัฐละ 2 คน มีวาระ ปี สำหรับสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative หรือ Dewan Rakyat)  มาจากการเลือกตั้งเขตละ คน รวม 219 คน มีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือวุฒิสภาเป็นผู้เสนอระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ปี (การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547)  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันแบ่งออกได้ ดังนี้
          - พรรคร่วมรัฐบาล (Barisan Nasional : BN) ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 199 คน (ร้อยละ 91 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ประกอบด้วยสมาชิกจากพรรคการเมืองต่างๆ 

ทั้งสิ้น 14 พรรค รวมตัวกันเป็นรัฐบาล พรรคการเมืองใหญ่ที่สำคัญ เช่น United Malays National Organization (UMNO) จำนวน110 คน, Malaysian Chinese Association (MCA) จำนวน 31 คน, Parti Pesaka Bumiputra Bersatu (PBB) จำนวน 11 คน, Gerakan Rakyat Malaysia Party (PGRM) จำนวน10 คน และ Malaysian India Congress (MIC) จำนวน คน และพรรคอื่นๆ อีก 28 คน เป็นต้น 
          - พรรคฝ่ายค้าน  ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 20 คน จากพรรคการเมือง พรรค คือ Democratic Action Party (DAP) จำนวน 12 คน, Parti Islam  Se-Malaysia (PAS) จำนวน คน, Keadilan จำนวน คน และ Bebas จำนวน คน

2.ฝ่ายบริหาร 
          ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
          - นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหารตามระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ที่สมาชิกได้รับเลือกเข้ามาในสภามากสุด หรืออาจเป็นหัวหน้าพรรคที่เป็นแกนนำ ในสภาผู้แทนราษฎร โดยประมุขของประเทศจะเป็นผู้แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ Abdullah Bin Ahmad Badawi ดำรงตำแหน่งในวันที่ 31 ตุลาคม 2546 รองนายกรัฐมนตรีคือ Mohamed Najib Bin Abdul Razak ดำรงตำแหน่งในวันที่ มกราคม 2547
          - คณะรัฐมนตรี (Cabinet) เป็นกลุ่มผู้กำหนดนโยบายอันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า นายกรัฐมนตรีจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาดำรงตำแหน่งในกระทรวงต่างๆ


3. ฝ่ายตุลาการ

          อำนาจตุลาการใช้ระบบกฎหมายของอังกฤษคือ Common Law ยกเว้นศาสนาอิสลามอยู่ภายใต้ระบบสหพันธ์ ทำให้อำนาจตุลาการมีความอิสระมาก เพราะไม่ถูกควบคุมโดยฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ


      



วิวัฒนาการทางการเมืองของมาเลเซีย

          ตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ถึงปัจจุบัน ที่เริ่มจากการแบ่งแยกทางเชื้อ ชาติระหว่างชาติพันธุ์หลักในสังคมมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชาวมลายูและชาวจีน ปัญหานี้ถือ ได้ว่าเป็นรากเหง้าของความขัดแย้งในสังคมมาโดยตลอด และเมื่อชาวมลายูยิ่งมีความสนใจและมีส่วน ร่วมทางการเมืองมากเท่าใด ก็ยิ่งมีการเรียกร้องและแสดงความเป็นเจ้าของประเทศ รวมถึงความเป็น อภิสิทธิ์ชนมากขึ้นเท่านั้น และการเรียกร้องดังกล่าวนี้ ได้ถูกกำหนดไว้ในหลายมาตราของรัฐธรรมนูญ อย่างชัดเจน เช่น มาตราที่ 153 กำหนดไว้ว่า ให้ประมุขของประเทศรักษา “สถานะพิเศษ” ของชาวมลายู ซึ่งรัฐบาลเองก็ต้องให้สิทธิพิเศษแก่ชนกลุ่มนี้ด้วย ทั้งในด้านการศึกษา ตำแหน่งทางราชการ และการเป็น เจ้าของในกิจการธุรกิจบางชนิด เป็นต้น หรือมาตราที่ 160 กำหนดความเป็นชาวมลายูไว้ว่า จะต้องเป็น บุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษามลายูเป็นประจำ และปฏิบัติตามประเพณีของชาวมลายู นอกจากนี้ ยังมีอีก 9 มาตรา ที่กำหนดการถือสัญชาติมาเลเซียอีกด้วย แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ยกเว้นมาตราเหล่านี้ แล้ว รัฐธรรมนูญของมาเลเซียได้บัญญัติไว้ว่า จะให้ความคุ้มครองตามหลักเสรีประชาธิปไตย และให้ ความเสมอภาคทางกฎหมายแก่ประชาชนมาเลเซียทุกกลุ่มอย่างทัดเทียมกัน

          สำหรับเหตุการณ์ภายในสหพันธรัฐเอง อัตราส่วนของเชื้อชาติต่างๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับการขยายตัวของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของชนพื้นเมืองในซาราวัคและซาบาห์ นอกจากนี้จำนวนชาวจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายจากการที่สิงคโปร์เข้าร่วมในสหพันธรัฐ เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม ปัญหาอีกด้านก็เกิดขึ้นเกี่ยวกับสิงคโปร์และได้ถึงจุดอวสานในอีก 2 ปี ต่อมา เมื่อสิงคโปร์ได้ถอนตัวออกไปจากสหพันธรัฐมาเลเซียในเดือนสิงหาคม 1965 และประกาศตัวเป็นเอกราช การแยกตัวออกไปครั้งนั้น ถึงแม้สาเหตุเบื้องต้นมาจากความไม่ไว้ใจกันระหว่างชาวจีนและชาวมลายูอันเนื่องมาจากความไม่เสมอภาคในทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่การแสวงหาอำนาจทางการเมืองระหว่างพรรคอัมโนกับพรรคกิจประชา (People’s Action Party – PAP) และการแบ่งสรรผลประโยชน์ต่างๆที่ไม่ลงตัว ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในวิกฤตการณ์นั้น และยังส่งผลลบไปอีกนานในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ 2 ประเทศนั้น 


วิวัฒนาการทางการเมืองในสหพันธรัฐมาเลเซีย นับแต่นี้ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 21 มี ประเด็นที่น่าสนใจอยู่เพียง 3 เรื่องด้วยกัน คือ


- ประเด็นที่ 1 เกี่ยวกับการส่งเสริมชาวมลายู ตามลัทธิภูมิบุตร (Bumiputerism) ที่จะให้มี สถานภาพพิเศษและเข้าครอบงำทางการเมืองอย่างเด็ดขาด จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ ดังปรากฏในการจลาจลเมื่อเดือนพฤษภาคม 1969 ความตึงเครียดและการเผชิญหน้าระหว่างชาวมลายูและ ชาวจีนในสหพันธรัฐจึงอยู่ในความรู้สึกลึก ๆ ของผู้คนอันจะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาการทางสังคมใน ระยะยาว 

- ประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่รัฐพยายามนำเอานโยบายเศรษฐกิจ ใหม่ (New Economic Policy – NEP) มาใช้ระหว่างปี ค.ศ. 1970-1990 และการประกาศวิสัยทัศน์ 2020 (Vision 2020) ในปี ค.ศ. 1991 ที่จะทำให้มาเลเซียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอีก 30 ปีข้างหน้า ในขณะเดียวกันประเด็นทางเชื้อชาติก็เข้ามาเกี่ยวข้องอีก เมื่อกระบวนการส่งเสริมชาวมลายูได้เข้า แทรกแซงในการกำหนดและการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจากข้อตกลงเดิมที่จะให้ชาวมลายูดูแล ด้านการเมืองและชาวจีนดูแลด้านเศรษฐกิจ แต่เมื่อนโยบายเศรษฐกิจใหม่ถูกนำมาใช้ รัฐบาลก็พยายามลด ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างชาวมลายูกับชาวจีนด้วยการส่งเสริมชาวมลายูในทุกรูปแบบ ถึงขั้นนำเอา ระบบอุปถัมภ์ (patronage) มาใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งส่งผลสะท้อนในด้านจิตใจต่อชน 2 เชื้อชาติอย่างลึกซึ้ง 

- ประเด็นที่ 3 เกี่ยวกับการเมืองโดยตรง ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า พรรคอัมโนพยายามรักษาความ เป็นผู้นำของกลุ่มหรือพรรคพันธมิตร (Alliance Party) หรือพรรคองค์การพันธมิตร (Alliance Organization) ไว้ โดยที่มีอีก 2 พรรคการเมืองเข้าร่วมคือ พรรคของชาวจีนที่มีชื่อว่า สมาคมชาวจีนมลายู หรือเอ็มซีเอ (Malayan Chinese Association – MCA) และพรรคของชาวอินเดีย คือสภาชาวอินเดียมลายู หรือเอ็มไอซี (Malayan Indian Congress – MIC) แต่เมื่อเห็นว่าฐานเสียงพรรคพันธมิตรประสบความ ล้มเหลวในการเลือกตั้งของปี ค.ศ. 1969 พรรคอัมโนจึงได้ขยายสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรออกไป ด้วยการ นำเอาฝ่ายค้านบางพรรคที่เป็นตัวแทนของกลุ่มหรือชุมชนต่าง ๆ เข้ามาร่วมเป็นสมาพันธ์แห่งพรรค การเมืองที่เรียกว่า แนวร่วมแห่งชาติ (National หรือ Barisan Nasional – BN) ขึ้นมาในการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1947 อย่างไรก็ตาม การสร้างระบบพันธมิตรตาม 2 รูปแบบดังกล่าวนี้ เป็นการแสดงออกของการ ผสานผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างชาติพันธุ์ หรือเป็นการประสานกันของกลุ่มชนที่เชื้อชาติต่างกัน (consociationalism) ของพรรคอัมโนที่เป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่สุดเป็นแกนนำ
          

บทบาทของมาเลเซียในอาเซียน


             นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2500 เป็นต้นมา ผู้นำและรัฐบาลมาเลเซียต่างให้ความสนใจต่อการร่วมมือในระดับภูมิภาคเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่า มาเลเซียเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มและสนับสนุนแนวความคิดเกี่ยวกับภูมิภาคนิยม (Regionalism) อย่างแข็งขัน เริ่มจากการก่อตั้งสมาคมอาสา สมาคมมาฟิลินโด กระทั่งมาถึงการรวมตัวก่อตั้งอาเซียน ถึงแม้ว่ามาเลเซียจะไม่ได้เป็นประเทศผู้นำในการก่อตั้งอาเซียน แต่ก็ได้ให้ความร่วมมือตลอดมา               
             โดยในปี 2522 มูลค่าการค้ามาเลเซีย-อาเซียนได้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า แสดงถึงนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ของมาเลเซียที่ได้ให้ความสำคัญกับประเทศในอาเซียนเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากความต้องการเป็นอิสระจากการพึ่งพาต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในปี 2534 มาเลเซียได้มีการปรับตัวเองขนานใหญ่ภายใต้แผนพัฒนาที่เรียกว่า "วิสัยทัศน์ 2020” หรือ "Vision 2020” (ภาษามาเลย์ใช้คำว่า "Wawasan 2020”) เน้นปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในแบบของมาเลเซียให้ได้ในปี 2020 โดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และจากการทำงานตามวิสัยทัศน์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มาเลเซียกำลังใกล้จะบรรลุผลและจะนับเป็นประเทศที่สองในอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์ที่จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและไปได้เร็วกว่าประเทศไทย               
             ในด้านบทบาทการเป็นประธานอาเซียน มาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 2 วันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ.2520 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีการลงนามปฏิญญาของอาเซียน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ มั่นคง แข็งแรงและแข็งแกร่ง สามารถทำงานได้และมีความเป็นหนึ่งเดียว                



             การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 วันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ.2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ จนนำมาสู่ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ในเอเชียตะวันออก ปฏิญญาสถานการณ์ไข้หวัดนกในการป้องกัน ควบคุมและแก้ปัญหา รวมถึงการดำเนินการของโครงการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซีย 2005-2015 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนร่วมวางข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน เป็นต้น


ประชากรมาเลเซีย

          ประเทศมาเลเซีย มีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร(Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11  ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)  นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี


          ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ,
คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์ ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง

ลักษณะประชากร 

- จำนวนประชากร มาเลเซีย มีประชากรประมาณ 26,130,000 คน
- ความหนาแน่นประชากร มาเลเซียมีความหนาแน่นประชากร 79 คน/ตร.กม.ส่วนมากจะอยู่แถบชายฝั่งช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นเมืองท่า เมืองหลวง เมืองอุตสาหกรรม จะมีประชากรเบาบางในเถบเทือกเขาสุง 

ภาษา

          ภาษาทางการ คือ ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายู ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา 



          นอกจากนี้มีการใช้ภาษาอังกฤษ จีน และทมิฬ

ศาสนา
          นับถืออิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือคริสเตียน 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมืองแห่งกรมตำรวจภูธรมาเลเซีย 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมาก เนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ 
          มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนเรื่องค่าครองชีพตามนโยบายของรัฐบาลภูมิบุตร



วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจของมาเลเซีย

          แม้ว่ามาเลเซียมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่แข็งแกร่ง แต่ธุรกิจหลักๆ จะถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก ภาคการเงินถูกควบคุมอย่างรัดกุมโดยรัฐบาลผ่านธนาคารกลางและสำนักงานกำกับหลักทรัพย์มาเลเซีย
          เนื่องมาจากการแข่งขันที่รุนแรงในภูมิภาค มาเลเซียได้พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจโดยรัฐบาลได้ผ่อนผันกฎหมายว่าด้วยการเป็นเจ้าของกิจการของชาวต่างชาติในภาคการผลิต และสร้างแรงจูงใจต่างๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนในส่วนที่มีความสำคัญ เช่น ศูนย์กลางการกระจายสินค้าระดับภูมิภาคและศูนย์กลางการจัดซื้อระหว่างประเทศ รัฐบาลยังได้มีการลงทุนอย่างมากในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในจุดศูนย์กลางต่างๆ และเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินการเปิดเสรีภาคบริการทางการเงิน เพื่อดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติให้มาทำธุรกิจในสาขานี้มากขึ้น



ลักษณะเศรฐกิจ 

- ด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบันมาเลเซียมีสัดส่วนเศรฐกิจภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง ทำให้มาเลเซีย
ถูกจัดอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ NICs 
          อุตสาหกรรมที่สำคัญของมาเลเซีย ได้แก่ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยางพารา รถยนต์ กลั่นน้ำมัน
- ด้านการค้าระหว่างประเทศ
          สิ่งค้าส่งออก ได้แก่ ชิ้นส่วนไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา รถยนต์ กลั่นน้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากไม้ และโลหะ
          สิ้นค้าน้ำเข้า ได้แก่ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรเครื่องใช้ ชิ้นส่วนเคมีภัณฑ์ 
และอุปกรณ์สำหรับขนส่ง 

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 02:54

เศรษฐกิจมาเลเซียโตถึง 6.4% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี คาดพรรครัฐบาลได้อานิสงส์ก่อนเลือกตั้งทั่วไป


          แบงก์เนการา ธนาคารกลางมาเลเซีย แถลงว่า เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ที่ 6.4% ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว นับเป็นการเติบโตที่ดีที่สุดในรอบกว่า 2 ปี นับจากไตรมาส 2 ปี 2553 ที่เศรษฐกิจโต 8.9%
          สำหรับทั้งปี 2555 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัว 5.6% ซึ่งสูงกว่าการคาดหมายของรัฐบาลที่ 5%
การขยายตัวที่ 6.4% ช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ถือว่าสูงกว่าการเติบโต 5.2% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากความต้องการในประเทศที่ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ โดยการลงทุนภาคเอกชนยังคงแข็งแกร่ง และเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนการเติบโตในไตรมาสดังกล่าว
          ตัวเลขดังกล่าวน่าจะเป็นผลดีแก่รัฐบาลในช่วงที่การเลือกตั้งกำลังใกล้เข้ามา โดยคาดว่า นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค จะเผชิญการเลือกตั้งที่ดุเดือด โดยแม้เป็นที่คาดหมายว่าเขาจะชนะ แต่คาดว่าจะเป็นไปอย่างเฉียดฉิวและอาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง
          ที่ผ่านมานายนาจิบได้อัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจผ่านการลงทุนและการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้มีฐานะยากจน โดยการใช้จ่ายส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับโครงการแปลงโฉมเศรษฐกิจมูลค่า 4.44 แสนล้านดอลลาร์ของรัฐบาลที่ประกอบด้วยโครงการขนาดใหญ่ด้านพื้นฐานหวังยกระดับมาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
          แบงก์เนการา ตั้งข้อสังเกตว่า การขยายตัวที่แข็งแกร่งขึ้นช่วงครึ่งแรกของปีที่แล้ว เป็นผลจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ส่วนการขยายตัวในไตรมาส 4 นั้นได้แรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ
          ขณะเดียวกัน การบริโภคในประเทศก็สามารถชดเชยความต้องการที่ซบเซาในต่างแดน ในช่วงที่คู่ค้าสำคัญอย่างจีนและสหรัฐ ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว
          แบงก์เนการา คาดว่า เศรษฐกิจปีนี้ของมาเลเซียจะขยายตัวต่อเนื่อง ผลจากความต้องการที่แข็งแกร่งในประเทศและตลาดต่างประเทศที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น แต่ธนาคารกลางไม่ได้ให้ตัวเลขคาดหมายการเติบโต ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาล คาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัว 4.5-5.5% ปีนี้
          นายกุนดี คาห์ยาดี นักเศรษฐกิจแห่งโอซีบีซี กล่าวว่า การลงทุนโดยรวมขยายตัวถึง 19.9% เมื่อปีที่แล้ว หรือ 2 เท่าของการขยายตัวด้านการลงทุนในประเทศอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย นอกจากนั้น นักลงทุนยังแห่กันเข้าซื้อหุ้นและพันธบัตร ทำให้ดัชนีหุ้นมาเลเซียพุ่งขึ้น 10% และเงินริงกิตแข็งค่าเกือบ 4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์
          อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่อนเกี่ยวกับการเลือกตั้งทำให้นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศ มีท่าทีระมัดระวัง และทำให้ดัชนีหุ้นลดลงกว่า 4% ปีนี้

ภูมิประเทศของมาเลเซีย

มาเลเซียตะวันตก  

          ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่


ช่องแคบมะละกา

          บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง


มาเลเซียตะวันออก  

          ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก


            เทือกเขา  เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขากลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย



ยอดเขาโกตาคินาบาลู

            แหล่งน้ำ  ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง            ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน


            ชายฝั่งทะเล ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร  บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ - ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย

          ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ - ๓๐ ฟุต  ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ฟุต
          บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่า
รัฐซาราวัค  

            ลักษณะภูมิอากาศ คือ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทริผลจากลมมรสุมจากมหวสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ 

ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีของมาเลเซีย


          ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกัน ทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน ซึ่งมีทั้งการผสานวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่

การรำซาบิน (Zabin)


          เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว

เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan)


          เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วย 

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย


            เมื่อหมื่นกว่าปีมาแล้ว ชาวพื้นเมืองมาเลย์ อพยพมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนแหลมมลายู แต่เมื่อก่อนนั้น แหลมมลายูตกอยู่ใต้การปกครองของพวกฟูนัน ซึ่งมีศูน์กลางอยู่ในดินแดนกัมพูชา พวกศรีวิชัย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในสุมาตรา และอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่เกาะชวา ก่อนที่ชาวจีนจะอพยพเข้ามาอยู่ในมะละกาตอนต้นศตวรรษที่ 14 พร้อมๆ กับการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ที่ได้รับการยอมรับนับถือในหมู่คนพื้นเมืองอย่างรวดเร็ว และความเจริญรุ่งเรืองของมะละกานี่เอง ที่ชักนำให้ชาวยุโรป เกิดความสนใจดินแดนส่วนนี้ และเริ่มต้นเส้นทางการค้าเครื่องเทศกับมะละกา


            ในศตวรรษที่ 15 เส้นทางเดินเรือไปค้าเครื่องเทศกับประเทศตะวันออกต้องผ่านอียิปต์ ซึ่งไม่ยินยอมให้เรือของคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เข้ามาจอดแวะ สร้างความยุ่งยากลำบากให้กับเรือของพวกยุโรปมาก ดังนั้น ชาวยุโรปจึงแสวงหาเส้นทางเดินเรือใหม่ ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่เข้ามาถึง และเข้าครอบครองดินแดนบนแหลมมลายูในปี ค.ศ.1511 ต่อมาชาวดัตช์ได้ติดตามมายึดครองพื้นที่บางส่วน บนแหลมมลายูในตอนต้นศตวรรษที่ 16 ตามมาด้วยอังกฤษที่แผ่อิทธิพลมาถึงซีกโลกนี้ ด้วยการมาตั้งเมืองท่าที่ปีนังเมื่อปี ค.ศ. 1786 และเข้ามายึดครองมะละกาในเวลาอีก 10 ปีต่อมา อังกฤษยึดเอาดินแดนบนแหลมมลายูเป็นอาณานิคม เมื่อมีการพบแร่ดีบุก หลังจากนั้น มาเลเซียตะวันออกก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ โดยนักเผชิญโชคชื่อ ชาร์ลส์ บรูค ผู้ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นราชาแห่งซาราวัก (Rajah of Sarawak) ได้ทำการแย่งชิงการปกครองดินแดน มาจากสุลต่านแห่งบรูไน และนำดินแดนนี้กับบริษัทนอร์ทบอร์เนียง (North Borneo Company) ซึ่งปกครองดูแลรัฐซาบาห์อยู่ในขณะนั้น มามอบให้เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษก็เข้ามามีอำนาจปกครองเหนือซาบาห์กับซาราวักโดยเด็ดขาด
            เมื่อเกิดความต้องการแรงงานมาทำสวนยางกับ อุตสาหกรรมแร่ดีบุกที่มลายู อังกฤษได้นำชาวอินเดียจำนวนมาก เข้ามาอยู่บนแหลมมลายู ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บนแหลมมลายูเป็นประชากรที่มีหลากหลายเชื้อชาติ
            เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้าครองแหลมมลายู ชาวพื้นเมืองได้รวมตัวกันตั้งกองทหารป่า (Communists Guerrillas) ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กองทหารป่าติดอาวุธของมาเลเซียไม่ได้สลายตัวไป กลับมารวมตัวกัน หันมาทำการต่อต้านการปกครองของอังกฤษ เมื่อ ค.ศ.1948 และได้รับชัยชนะในที่สุด มลายูได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ.1957 ประเทศมาเลเซียจึงถือกำเนิดขึ้นจากการรวมตัวกันของซาบาห์ ซาราวัก และสิงคโปร์ในปี ค.ศ.1963 โยมีตวนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย แต่ในเวลาอีก 2 ปีต่อมา สิงคโปร์ก็ถอนตัวออกจากการเป็นหนึ่งในสหพันธรัฐมาเลเซียไปตั้งประเทศใหม่ การตั้งตัวเป็นประเทศของมาเลเซีย ได้รับการคัดค้านอย่างมากจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพราะทั้งสองประเทศนี้ อ้างสิทธิในการปกครองดินแดนบางส่วน ทางตะวันออกของมาเลเซีย
            ต่อมาเกิดสถานการณ์ตึงเครียดขึ้น เมื่อมาเลเซียต้องเผชิญหน้ากับอินโดนีเซีย เมื่ออินโดนีเซียยกกองกำลังบุกรุกข้ามเข้ามาในพรมแดนมาเลเซีย แต่ถูกต่อต้านอย่างเข้มแข็งจากกองทัพมาเลเซีย และกองกำลังผสมของประเทศในเครือจักรภพ จนอินโดนนีเซียต้องถอนกำลังกลับไป ต่อมาเกิดสถานการณ์ไม่สงบขึ้นในมาเลเซีย มีการจราจลกลางเมือง เพราะมีการปะทะกันระหว่างประชาชนต่างเชื้อชาติของมาเลเซีย คือ ชาวมาเลย์กับชาวจีน โดยชาวจีนถูกฆ่าตายไปหลายร้อยคน แต่รัฐบาลก็สามารถจัดการแก้ปัญหาได้สำเร็จ พลเมืองต่างเชื้อชาติของมาเลเซีย จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข

ประเทศมาเลเซีย


          ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา 
สิงคโปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน 
          คำว่า มาเลเซียนี้ เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปี พ.ศ. 2457 
          ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆมากมาย 
ก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

          ธงชาติมาเลเซีย หรือ ยาลูร์ เกมิลัง (มาเลย์: Jalur Gemilang มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้างและยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"
แบบสัดส่วนของธงชาติมาเลเซีย
แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิก
  ทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

          มาเลเซีย (มาเลย์Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น
  ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตันเประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ 
          ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันตก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวัก
เพียงรัฐเดียว 


มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

การสร้างชาติ

          ในยุคแรกของสหพันธ์มลายา (Federation of Malaya) ที่ประกอบขึ้นจากรัฐต่าง ๆ บนคาบสมุทรมลายู รวม 11 รัฐ รัฐสภาเป็นองค์กรหลักทำหน้าที่นิติบัญญัติของสหพันธ์ ประกอบด้วย สมาชิกสภาที่เป็นข้าราชการและบุคคลอื่น ๆ จำนวน 76 คน โดยมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษ (British High Commissioner) เป็นประธานสภา แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1955 สมาชิกสภาได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 98 คน โดย มีสมาชิก 52 คน มาจากการเลือกตั้ง ส่วนที่เหลือมาจากการเสนอชื่อ อย่างไรก็ตาม สภาที่ทำหน้าที่นิติ บัญญัติได้ยกเลิกไปภายหลังที่สหพันธ์มลายาได้รับเอกราชเพียง 2 ปี 
          อย่างไรก็ตาม การที่ชาวมลายูยอมรับในระบบและหลักการใหม่ ที่มีรัฐบาลกลางที่มี เอกภาพและยังสามารถออกกฎหมายได้นั้น ก็เนื่องมาจากว่าแต่ละรัฐมีสิทธิในการควบคุมกฎหมายหลาย ด้านด้วยกัน สุลต่านมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองรัฐของตน แต่ละรัฐต่างมีอำนาจในการบริหาร ปกครองตนเองและยังสามารถรักษาความเป็นของรัฐของตนไว้ได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการตั้ง “ที่ประชุมประมุขของรัฐ” (Conference of Rulers) ขึ้นมาเป็นเกียรติแก่บรรดาสุลต่านเท่านั้น โดยไม่มี อำนาจทางการเมืองการปกครอง สำหรับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ยังคงมีอยู่ต่อไป แต่ให้รับอำนาจ มาจากที่ประชุมประมุขของรัฐแทนการรับมาจากกษัตริย์อังกฤษ เพื่อคอย “ปกปักษ์รักษาสิทธิของรัฐ มลายูและนิคม และปกป้องสิทธิ อำนาจ และเกียรติยศขององค์สุลต่าน และสถานะความเป็นชาวมลายู โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของชุมชนต่าง ๆ” แต่ที่สำคัญอีกประเด็น คือ การ ถือสัญชาติและสถานะพิเศษของชาวมลายู ซึ่งในกรณีแรกนั้น ผู้ได้รับสัญชาติจะต้องมีถิ่นฐานอยู่ในอาณา นิคมแห่งนี้อย่างน้อย 15 ปี และรับจะอาศัยอยู่บนดินแดนแห่งนี้ตลอดชีวิต ทั้งยังต้องพูดภาษามลายูหรือ ภาษาอังกฤษได้ด้วย จากกฎข้อบังคับนี้ทำให้ประชากรเพียง 3 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 5 ล้านคน มี คุณสมบัติพอที่จะเป็นพลเมืองมลายูได้ และถ้าจำแนกประชากรออกตามเผ่าพันธุ์แล้ว พบว่า ประชากร ประมาณร้อยละ 78 เป็นชาวมลายู ร้อยละ 12 เป็นชาวจีน และร้อยละ 7 เป็นชาวอินเดีย 
          ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 เมื่อข้าหลวงใหญ่เดินทางมาถึงสหพันธ์มลายาก็ได้แสดง เจตนารมณ์ของรัฐบาลอังกฤษอย่างชัดเจนว่า “จุดมุ่งหมายอันเร่งด่วน คือ การก่อตั้งชาติมลายูที่เป็น เอกภาพ” และนับจากนั้นเป็นต้นไป จนถึงเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 1955 อังกฤษก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งในท้องถิ่น รวมทั้งก่อตั้งสภาหมู่บ้านและจัดระบบการให้สัญชาติแก่ชาว จีน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมอาณานิคมแห่งนี้ให้เข้าสู่ยุคของความเป็นเอกราชในอนาคต 
          การที่อาณานิคมบนแหลมมลายูได้รับเอกราชจากอังกฤษมาได้นั้น ถือว่าเป็น ความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ที่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผ่าน พรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนจากทางการอังกฤษต่อ พรรคการเมืองเหล่านี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียกร้องเอกราช โดยการนำเอานโยบาย “พันธมิตรทางเผ่าพันธุ์” ระหว่างพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของชาวมลายู ของชาวจีนและของ ชาวอินเดียมาเป็นแรงผลักดันเพื่อทำให้รัฐบาลอังกฤษบังเกิดความมั่นใจว่ากลุ่มพันธมิตรนี้จะสามารถ บริหารสหพันธ์มลายาได้ กอปรกับการที่อังกฤษต้องการส่งเสริมให้ชาวมลายูมีความเป็นชาตินิยมมากขึ้น เพื่อการต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์มลายู หรือ พคม. : Communist Party of Malaya – CPM) ที่ได้สร้างความยุ่งยากให้แก่รัฐบาลอาณานิคมและรัฐบาลสหพันธ์มลายาเป็นอย่างมากด้วยการนำเอาวิธีการก่อการร้ายต่าง ๆ มาใช้ จนทำให้ต้องมีการประกาศภาวะฉุกเฉินขึ้นในปี ค.ศ. 1948 กระทั่งการก่อการร้ายได้ลดความรุนแรงลง ภายหลังจากที่สหพันธ์ฯได้รับเอกราชแล้ว จึงได้มีการยกเลิกคำประกาศนั้นไปในปี ค.ศ. 1960 ขณะเดียวกันการที่อังกฤษพยายามสอนชาวมลายูให้เข้าใจการปกครองประเทศ ด้วยการให้เข้ามารับราชการและจัดการเลือกตั้งในหลายระดับ ล้วนแต่มีผลต่อการที่สหพันธ์มลายูได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1957 และจากความพยายามที่จะสร้างแนวร่วมและความมั่นคงให้กับโลกของชาวมลายูที่เคยเป็นและที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รวมถึงแรงผลักดันของรัฐบาลที่ลอนดอนด้วย 
          สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia) ก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นมา ในวันที่16 กันยายน 1963 ด้วยการรวมเอาสิงคโปร์ ซาราวัค และบอร์เนียวเหนือ เข้าไว้ภายใต้รัฐบาล เดียวกัน โดยมีกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง