เนื่องมาจากการแข่งขันที่รุนแรงในภูมิภาค มาเลเซียได้พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจโดยรัฐบาลได้ผ่อนผันกฎหมายว่าด้วยการเป็นเจ้าของกิจการของชาวต่างชาติในภาคการผลิต และสร้างแรงจูงใจต่างๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนในส่วนที่มีความสำคัญ เช่น ศูนย์กลางการกระจายสินค้าระดับภูมิภาคและศูนย์กลางการจัดซื้อระหว่างประเทศ รัฐบาลยังได้มีการลงทุนอย่างมากในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในจุดศูนย์กลางต่างๆ และเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินการเปิดเสรีภาคบริการทางการเงิน เพื่อดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติให้มาทำธุรกิจในสาขานี้มากขึ้น
ลักษณะเศรฐกิจ
- ด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบันมาเลเซียมีสัดส่วนเศรฐกิจภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง ทำให้มาเลเซียถูกจัดอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ NICs
อุตสาหกรรมที่สำคัญของมาเลเซีย ได้แก่ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยางพารา รถยนต์ กลั่นน้ำมัน
- ด้านการค้าระหว่างประเทศ
สิ่งค้าส่งออก ได้แก่ ชิ้นส่วนไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา รถยนต์ กลั่นน้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากไม้ และโลหะ
สิ้นค้าน้ำเข้า ได้แก่ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรเครื่องใช้ ชิ้นส่วนเคมีภัณฑ์
และอุปกรณ์สำหรับขนส่ง
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 02:54
เศรษฐกิจมาเลเซียโตถึง 6.4% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี คาดพรรครัฐบาลได้อานิสงส์ก่อนเลือกตั้งทั่วไป
แบงก์เนการา ธนาคารกลางมาเลเซีย แถลงว่า เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ที่ 6.4% ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว นับเป็นการเติบโตที่ดีที่สุดในรอบกว่า 2 ปี นับจากไตรมาส 2 ปี 2553 ที่เศรษฐกิจโต 8.9%
สำหรับทั้งปี 2555 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัว 5.6% ซึ่งสูงกว่าการคาดหมายของรัฐบาลที่ 5%
การขยายตัวที่ 6.4% ช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ถือว่าสูงกว่าการเติบโต 5.2% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากความต้องการในประเทศที่ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ โดยการลงทุนภาคเอกชนยังคงแข็งแกร่ง และเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนการเติบโตในไตรมาสดังกล่าว
ตัวเลขดังกล่าวน่าจะเป็นผลดีแก่รัฐบาลในช่วงที่การเลือกตั้งกำลังใกล้เข้ามา โดยคาดว่า นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค จะเผชิญการเลือกตั้งที่ดุเดือด โดยแม้เป็นที่คาดหมายว่าเขาจะชนะ แต่คาดว่าจะเป็นไปอย่างเฉียดฉิวและอาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง
ที่ผ่านมานายนาจิบได้อัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจผ่านการลงทุนและการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้มีฐานะยากจน โดยการใช้จ่ายส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับโครงการแปลงโฉมเศรษฐกิจมูลค่า 4.44 แสนล้านดอลลาร์ของรัฐบาลที่ประกอบด้วยโครงการขนาดใหญ่ด้านพื้นฐานหวังยกระดับมาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
แบงก์เนการา ตั้งข้อสังเกตว่า การขยายตัวที่แข็งแกร่งขึ้นช่วงครึ่งแรกของปีที่แล้ว เป็นผลจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ส่วนการขยายตัวในไตรมาส 4 นั้นได้แรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ
ขณะเดียวกัน การบริโภคในประเทศก็สามารถชดเชยความต้องการที่ซบเซาในต่างแดน ในช่วงที่คู่ค้าสำคัญอย่างจีนและสหรัฐ ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว
แบงก์เนการา คาดว่า เศรษฐกิจปีนี้ของมาเลเซียจะขยายตัวต่อเนื่อง ผลจากความต้องการที่แข็งแกร่งในประเทศและตลาดต่างประเทศที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น แต่ธนาคารกลางไม่ได้ให้ตัวเลขคาดหมายการเติบโต ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาล คาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัว 4.5-5.5% ปีนี้
นายกุนดี คาห์ยาดี นักเศรษฐกิจแห่งโอซีบีซี กล่าวว่า การลงทุนโดยรวมขยายตัวถึง 19.9% เมื่อปีที่แล้ว หรือ 2 เท่าของการขยายตัวด้านการลงทุนในประเทศอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย นอกจากนั้น นักลงทุนยังแห่กันเข้าซื้อหุ้นและพันธบัตร ทำให้ดัชนีหุ้นมาเลเซียพุ่งขึ้น 10% และเงินริงกิตแข็งค่าเกือบ 4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่อนเกี่ยวกับการเลือกตั้งทำให้นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศ มีท่าทีระมัดระวัง และทำให้ดัชนีหุ้นลดลงกว่า 4% ปีนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น