วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บทบาทของมาเลเซียในอาเซียน
นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2500 เป็นต้นมา ผู้นำและรัฐบาลมาเลเซียต่างให้ความสนใจต่อการร่วมมือในระดับภูมิภาคเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่า มาเลเซียเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มและสนับสนุนแนวความคิดเกี่ยวกับภูมิภาคนิยม (Regionalism) อย่างแข็งขัน เริ่มจากการก่อตั้งสมาคมอาสา สมาคมมาฟิลินโด กระทั่งมาถึงการรวมตัวก่อตั้งอาเซียน ถึงแม้ว่ามาเลเซียจะไม่ได้เป็นประเทศผู้นำในการก่อตั้งอาเซียน แต่ก็ได้ให้ความร่วมมือตลอดมา
โดยในปี 2522 มูลค่าการค้ามาเลเซีย-อาเซียนได้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า แสดงถึงนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ของมาเลเซียที่ได้ให้ความสำคัญกับประเทศในอาเซียนเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากความต้องการเป็นอิสระจากการพึ่งพาต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในปี 2534 มาเลเซียได้มีการปรับตัวเองขนานใหญ่ภายใต้แผนพัฒนาที่เรียกว่า "วิสัยทัศน์ 2020” หรือ "Vision 2020” (ภาษามาเลย์ใช้คำว่า "Wawasan 2020”) เน้นปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในแบบของมาเลเซียให้ได้ในปี 2020 โดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และจากการทำงานตามวิสัยทัศน์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มาเลเซียกำลังใกล้จะบรรลุผลและจะนับเป็นประเทศที่สองในอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์ที่จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและไปได้เร็วกว่าประเทศไทย
ในด้านบทบาทการเป็นประธานอาเซียน มาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 2 วันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ.2520 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีการลงนามปฏิญญาของอาเซียน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ มั่นคง แข็งแรงและแข็งแกร่ง สามารถทำงานได้และมีความเป็นหนึ่งเดียว
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 วันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ.2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ จนนำมาสู่ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ในเอเชียตะวันออก ปฏิญญาสถานการณ์ไข้หวัดนกในการป้องกัน ควบคุมและแก้ปัญหา รวมถึงการดำเนินการของโครงการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซีย 2005-2015 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนร่วมวางข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น