วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเทศมาเลเซีย


          ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา 
สิงคโปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน 
          คำว่า มาเลเซียนี้ เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปี พ.ศ. 2457 
          ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆมากมาย 
ก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

          ธงชาติมาเลเซีย หรือ ยาลูร์ เกมิลัง (มาเลย์: Jalur Gemilang มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้างและยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"
แบบสัดส่วนของธงชาติมาเลเซีย
แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิก
  ทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

          มาเลเซีย (มาเลย์Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น
  ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตันเประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ 
          ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันตก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวัก
เพียงรัฐเดียว 


มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

การสร้างชาติ

          ในยุคแรกของสหพันธ์มลายา (Federation of Malaya) ที่ประกอบขึ้นจากรัฐต่าง ๆ บนคาบสมุทรมลายู รวม 11 รัฐ รัฐสภาเป็นองค์กรหลักทำหน้าที่นิติบัญญัติของสหพันธ์ ประกอบด้วย สมาชิกสภาที่เป็นข้าราชการและบุคคลอื่น ๆ จำนวน 76 คน โดยมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษ (British High Commissioner) เป็นประธานสภา แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1955 สมาชิกสภาได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 98 คน โดย มีสมาชิก 52 คน มาจากการเลือกตั้ง ส่วนที่เหลือมาจากการเสนอชื่อ อย่างไรก็ตาม สภาที่ทำหน้าที่นิติ บัญญัติได้ยกเลิกไปภายหลังที่สหพันธ์มลายาได้รับเอกราชเพียง 2 ปี 
          อย่างไรก็ตาม การที่ชาวมลายูยอมรับในระบบและหลักการใหม่ ที่มีรัฐบาลกลางที่มี เอกภาพและยังสามารถออกกฎหมายได้นั้น ก็เนื่องมาจากว่าแต่ละรัฐมีสิทธิในการควบคุมกฎหมายหลาย ด้านด้วยกัน สุลต่านมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองรัฐของตน แต่ละรัฐต่างมีอำนาจในการบริหาร ปกครองตนเองและยังสามารถรักษาความเป็นของรัฐของตนไว้ได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการตั้ง “ที่ประชุมประมุขของรัฐ” (Conference of Rulers) ขึ้นมาเป็นเกียรติแก่บรรดาสุลต่านเท่านั้น โดยไม่มี อำนาจทางการเมืองการปกครอง สำหรับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ยังคงมีอยู่ต่อไป แต่ให้รับอำนาจ มาจากที่ประชุมประมุขของรัฐแทนการรับมาจากกษัตริย์อังกฤษ เพื่อคอย “ปกปักษ์รักษาสิทธิของรัฐ มลายูและนิคม และปกป้องสิทธิ อำนาจ และเกียรติยศขององค์สุลต่าน และสถานะความเป็นชาวมลายู โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของชุมชนต่าง ๆ” แต่ที่สำคัญอีกประเด็น คือ การ ถือสัญชาติและสถานะพิเศษของชาวมลายู ซึ่งในกรณีแรกนั้น ผู้ได้รับสัญชาติจะต้องมีถิ่นฐานอยู่ในอาณา นิคมแห่งนี้อย่างน้อย 15 ปี และรับจะอาศัยอยู่บนดินแดนแห่งนี้ตลอดชีวิต ทั้งยังต้องพูดภาษามลายูหรือ ภาษาอังกฤษได้ด้วย จากกฎข้อบังคับนี้ทำให้ประชากรเพียง 3 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 5 ล้านคน มี คุณสมบัติพอที่จะเป็นพลเมืองมลายูได้ และถ้าจำแนกประชากรออกตามเผ่าพันธุ์แล้ว พบว่า ประชากร ประมาณร้อยละ 78 เป็นชาวมลายู ร้อยละ 12 เป็นชาวจีน และร้อยละ 7 เป็นชาวอินเดีย 
          ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 เมื่อข้าหลวงใหญ่เดินทางมาถึงสหพันธ์มลายาก็ได้แสดง เจตนารมณ์ของรัฐบาลอังกฤษอย่างชัดเจนว่า “จุดมุ่งหมายอันเร่งด่วน คือ การก่อตั้งชาติมลายูที่เป็น เอกภาพ” และนับจากนั้นเป็นต้นไป จนถึงเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 1955 อังกฤษก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งในท้องถิ่น รวมทั้งก่อตั้งสภาหมู่บ้านและจัดระบบการให้สัญชาติแก่ชาว จีน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมอาณานิคมแห่งนี้ให้เข้าสู่ยุคของความเป็นเอกราชในอนาคต 
          การที่อาณานิคมบนแหลมมลายูได้รับเอกราชจากอังกฤษมาได้นั้น ถือว่าเป็น ความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ที่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผ่าน พรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนจากทางการอังกฤษต่อ พรรคการเมืองเหล่านี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียกร้องเอกราช โดยการนำเอานโยบาย “พันธมิตรทางเผ่าพันธุ์” ระหว่างพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของชาวมลายู ของชาวจีนและของ ชาวอินเดียมาเป็นแรงผลักดันเพื่อทำให้รัฐบาลอังกฤษบังเกิดความมั่นใจว่ากลุ่มพันธมิตรนี้จะสามารถ บริหารสหพันธ์มลายาได้ กอปรกับการที่อังกฤษต้องการส่งเสริมให้ชาวมลายูมีความเป็นชาตินิยมมากขึ้น เพื่อการต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์มลายู หรือ พคม. : Communist Party of Malaya – CPM) ที่ได้สร้างความยุ่งยากให้แก่รัฐบาลอาณานิคมและรัฐบาลสหพันธ์มลายาเป็นอย่างมากด้วยการนำเอาวิธีการก่อการร้ายต่าง ๆ มาใช้ จนทำให้ต้องมีการประกาศภาวะฉุกเฉินขึ้นในปี ค.ศ. 1948 กระทั่งการก่อการร้ายได้ลดความรุนแรงลง ภายหลังจากที่สหพันธ์ฯได้รับเอกราชแล้ว จึงได้มีการยกเลิกคำประกาศนั้นไปในปี ค.ศ. 1960 ขณะเดียวกันการที่อังกฤษพยายามสอนชาวมลายูให้เข้าใจการปกครองประเทศ ด้วยการให้เข้ามารับราชการและจัดการเลือกตั้งในหลายระดับ ล้วนแต่มีผลต่อการที่สหพันธ์มลายูได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1957 และจากความพยายามที่จะสร้างแนวร่วมและความมั่นคงให้กับโลกของชาวมลายูที่เคยเป็นและที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รวมถึงแรงผลักดันของรัฐบาลที่ลอนดอนด้วย 
          สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia) ก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นมา ในวันที่16 กันยายน 1963 ด้วยการรวมเอาสิงคโปร์ ซาราวัค และบอร์เนียวเหนือ เข้าไว้ภายใต้รัฐบาล เดียวกัน โดยมีกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น